top of page
Sunny Side Up 5000px (transparent).png

ครีมกันแดดประเภทไหนใช่ที่สุด

ครีมกันแดดในท้องตลาดมีกี่ประเภท แล้วครีมกันแดดประเภทไหนที่เหมาะกับคุณ


🔔 ก่อนอื่น อยากให้คุณลองหยิบครีมกันแดดคู่ใจขึ้นมาดูไปพร้อมกัน ครั้งนี้ไม่ได้ดู SPF หรือ PA แต่จะพาทุกคนไปรู้ว่า จริง ๆ แล้ว คุณใช้ครีมกันแดดประเภทไหน ตอบโจทย์สิ่งที่คุณต้องการหรือไม่ หยิบขึ้นมาแล้วพลิกไปดูกันเลย 👉🏻


☀️ หลัก ๆ แล้วครีมกันแดดมี 2 ประเภท คือ

  1. ครีมกันแดดเคมีคัล (Chemical Sunscreen)

  2. ครีมกันแดดฟิซิคัล (Physical Sunscreen)

และในช่วงหลังเพิ่งมีครีมกันแดดชนิดใหม่เพิ่มเข้ามาคือ ครีมกันแดดไฮบริด (Hybrid Sunscreen)





Chemical Sunscreen (หรือ Organic Sunscreen)


📌 รู้หรือไม่ ครีมกันแดดในท้องตลาดที่ขายกันส่วนใหญ่จะเป็นครีมกันแดดประเภทนี้ เพราะเป็นครีมกันแดดที่มีมานานมากแล้ว แถมยังหาง่ายและราคาย่อมเยา แบรนด์ดังส่วนมากที่คุ้นเคยกันก็มักใช้สารกันแดดกลุ่มเคมี คุณต้องเคยใช้กันแดดกลุ่มนี้อย่างแน่นอน ไม่เชื่อลองพลิกอ่านส่วนผสมต่อได้เลย


สารกันแดดที่ใช้: ที่พบบ่อยได้แก่ Oxybenzone, Avobenzone, Octisalate, Octocrylene, Homosalate, Octinoxate ยังมีนอกเหนือจากนี้อีกหลายสาร


ที่มาของสารกันแดด: เป็นสารกันแดดที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ จึงเรียกว่าสารกลุ่ม Organic


การทำงาน: ดูดซับรังสี UV จากแสงแดดและทำปฏิกิริยาเคมี เปลี่ยนรังสี UV เป็นความร้อน

ข้อดี: เนื้อครีมเบามาก เกลี่ยง่าย ครีมบางตัวมีลักษณะเป็นสีใส


ข้อเสีย:

  1. เกิดสารสะสมในร่างกาย พบในเลือดเป็นเวลานานหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์

  2. ต้องใช้สารกันแดดร่วมกันหลายตัวเพื่อการทำงานที่สเถียร จึงมีโอกาสเกิดการอุดตันสูง

  3. สารหลายชนิดเป็นอันตรายต่อร่างกาย พบในนมแม่ และสารบางชนิดอาจเป็นสารก่อมะเร็ง

  4. การเกิดปฏิกิริยาเคมีจะทำให้ผิวเสื่อมสภาพเร็ว ทำให้ดูแก่ก่อนวัย

  5. ทาแล้วยังออกแดดเลยไม่ได้ ต้องรอ 15-20 นาที

  6. สารกันแดดหลายตัวในกลุ่มนี้เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและทำให้ปะการังฟอกขาว


ข้อควรระวัง: ครีมกันแดดประเภทนี้มีอีกชื่อเรียกนึงว่า Organic Sunscreen

แต่ต้องระวัง Organic ในที่นี้คนละความหมายกับผักออร์แกนิก เพราะส่วนผสมจากพืชออร์แกนิก ที่เราเข้าใจกันทั่วไปต้องผ่านมาตรฐานหลายประการ ดังนั้น หลายแบรนด์อาจนำคำนี้ไปใช้เพื่อให้ผู้บริโภคสับสน ❗️



Physical Sunscreen (หรือ Mineral Sunscreen หรือ Inorganic Sunscreen)


📌 ครีมกันแดดกลุ่มนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทั่วโลก มีงานศึกษาวิจัยรองรับมากขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ FDA ของสหรัฐอเมริกายังแนะนำให้หันมาใช้ครีมกันแดดกลุ่มนี้ เนื่องจากขึ้นชื่อเรื่องความปลอดภัย และกันแดดได้จริง


สารกันแดดที่ใช้: Zinc Oxide, Titanium Dioxide


ที่มาของสารกันแดด: เป็นสารกันแดดจากแร่ธรรมชาติ เลยอาจเรียกว่าครีมกันแดด Mineral


การทำงาน: เป็นเหมือนเกราะป้องกัน สะท้อนรังสี UV ออกจากผิว

ข้อดี:

  1. สารกันแดดไม่สะสมในร่างกาย ปลอดภัยต่อผู้ใช้

  2. เพียงสองสารกันแดดก็ทำงานได้ครบ กันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB

  3. อ่อนโยนต่อผิว โอกาสระคายเคืองต่ำ

  4. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อปะการังและระบบนิเวศใต้ทะเล (แต่ต้องไม่ใช่ขนาดนาโน)


ข้อเสีย:

  1. โมเลกุลของครีมกันแดดมีขนาดใหญ่กว่าแบบเคมี เนื้อครีมจึงมีสีขาว

  2. เนื้อครีมอาจหนักและเหนียวกว่าแบบเคมีที่คุ้นชิน

  • แบรนด์ โรงงาน แล็บ ซัพพลายเยอร์ต่างๆ หันมาสนใจครีมกันแดดกลุ่มนี้มากขึ้นกว่าเดิมมาก ทำให้มีนวัตกรรมใหม่หรือการผสมสูตรใหม่ๆ อยู่เสมอ จึงได้เนื้อครีมและสัมผัสที่ดีขึ้น ครีมกันแดดฟิซิคัลหลายตัวสามารถแก้ปัญหาความหนัก เหนียวและคราบขาวได้แล้ว

3. มีราคาสูงกว่าแบบเคมี



เพิ่มเติม:

บางที่อาจเรียกครีมกันแดดประเภทนี้ว่า Mineral Sunscreen ซึ่งอ้างอิงจากที่มาของสาร หรืออาจะเรียกว่า Inorganic Sunscreen เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของสารคาร์บอน

ย้ำอีกครั้งว่า Organic กับ Inorganic สำหรับครีมกันแดด คนละความหมายกันกับออร์แกนิกของผักหรือผลไม้ในแบบที่คุ้นเคยกัน



Hybrid Sunscreen


📌 ครีมกันแดดประเภทสุดท้าย เพิ่มเติมจาก 2 ประเภทหลัก เป็นครีมกันแดดประเภทใหม่ที่กำลังวางขายในตลาด ซึ่งน่าจับตามองอย่างมากว่าในอนาคตครีมกันแดดประเภทนี้จะพัฒนาไปอย่างไร และเป็นที่นิยมหรือเปล่า


สารกันแดดที่ใช้: Bis-Ethylhexyloxyphenol Methoxyphenyl Triazine หรือ Methylene Bis-Benzotriazolyl Tetramethylbutylphenol และอื่น ๆ


การทำงาน: ทำงานได้ทั้งดูดซับและสะท้อนรังสี UV


ข้อควรระวัง:

  1. ครีมกันแดดไฮบริด ทำหน้าที่เหมือนครีมกันแดดเคมีคัลและครีมกันแดดฟิซิคัลผสมกัน ซึ่งเป็นการทำงานด้วยสารกันแดดประเภทนี้โดยเฉพาะ ไม่ใช่การผสมสารจากประเภทเคมีคัลและฟิซิคัล

  2. สารกันแดดในครีมกันแดดประเภทนี้ยังใหม่มาก ต้องศึกษาข้อมูลต่าง ๆ อีก เช่นเรื่องผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม



🔆 KAANI 🔆


ครีมกันแดด KAANI ทั้งรุ่น KAANI ACTIVE และรุ่น KAANI Everyday เป็น Physical Sunscreen ล้วน เพราะ

  1. มีงานศึกษาวิจัยจำนวนมากพอที่ยืนยันความปลอดภัยต่อร่างกายของผู้ใช้

  2. เป็นครีมกันแดดที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่เกิดการอุดตัน

  3. เหมาะกับคนที่ผิวแพ้และระคายเคืองง่าย เด็ก คนท้อง สามารถใช้ได้

  4. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเลือกใช้สารกันแดดแบบ Non-nano Physical Sunscreen และไม่มีสารอันตรายอื่น ๆ ต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลตามมาตรฐานประเทศปาเลา


หวังว่าคนที่อ่านมาจนจบจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับครีมกันแดดมากขึ้น รู้เท่าทันเทรนด์และชื่อเรียกต่างๆ ไม่ตกเป็นเหยื่อการตลาดที่ไม่จริงใจ ครีมกันแดดทุกชนิดมีข้อดีและข้อเสียปนกันไป แต่สุดท้ายแล้ว

“ครีมกันแดดที่ดีที่สุดคือครีมกันแดดที่คุณใช้จริง”

สภาพผิวคนเราแตกต่างกัน บางครั้งบล็อกเกอร์แนะนำแบบหนึ่งแต่คุณอาจไม่ถูกใจ เลือกครีมกันแดดที่ใช่ ตอบโจทย์คุณที่สุดในแต่ละวัน เพื่อสุขภาพผิวที่ดีในระยะยาว


ที่มา:

Comentarios


bottom of page