What is Reef Safe Sunscreen | KAANI
top of page

อะไรบ้างที่ทำให้

ครีมกันแดด

เป็นมิตรต่อปะการัง

ทะเล หาดทราย สายลม ส่วนผสมง่าย ๆ ของวันดี ๆ ที่ลงตัวของใครหลายคน ทุกครั้งที่พุ่งตัวไปชายหาด สิ่งแรกที่คุณนึกถึงก็คงเป็นครีมกันแดด เพื่อปกป้องผิวไม่ให้ถูกแสงแดดทำร้ายจนไหม้ แสบหลังจบทริป แต่คุณคงคิดไม่ถึงเลยว่าการทาครีมกันแดดเคมีปริมาณเพียงเล็กน้อยบนผิวคุณ ทำร้ายปะการังและสิ่งมีชีวิตนับไม่ถ้วนใต้ท้องทะเลอย่างรุนแรง 

 

จริง ๆ แล้ว มีปัจจัยอื่นอีกมาก เช่น ภาวะโลกร้อนและอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น ที่ส่งผลเสียต่อชีวิตน้อยใหญ่ใต้ทะเล ทำลายระบบนิเวศใต้ทะเล รวมไปถึงทำให้แนวปะการังลดลงอย่างน่าใจหายจนเป็นปรากฎการณ์ระดับโลก 

จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์บน Environmental Health Perspectives แนวปะการังทั่วโลกกำลังถูกทำลาย โดยมีสาเหตุหลายประการที่โยงกลับมาสู่กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การทาครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิวจาก
รังสียูวีที่เป็นอันตรายต่อผิวหนังเวลาไปเที่ยวทะเล แต่กลับไม่รู้เลยว่าสารเคมีเหล่านั้นเป็นพิษต่อปะการัง เมื่อประกอบกับปัจจัยอื่นๆ ทำให้เกิดการฟอกขาวครั้งใหญ่ (Mass coral bleaching) โลกได้สูญเสียปะการังจำนวนมาก รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ที่มีวิถีชีวิตผูกกับแนวปะการัง ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเช่นกัน นอกจากนี้งานวิจัยยังระบุว่าปะการังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ทัน หากหวังเพียงให้ปะการังปรับตัวตาม ระบบนิเวศแนวปะการังจะเสื่อมสภาพลงจน
ไม่อาจกู้คืนมาได้ 

 

ถึงแม้ครีมกันแดดจะมีประโยชน์ต่อผิวของคน แต่ครีมกันแดดส่วนใหญ่กลับมีโทษต่อปะการังอย่างร้ายแรง เมื่อนักท่องเที่ยวทาครีมกันแดดเคมีที่มี
สารอย่าง oxybenzone, octinoxate, octocrylene และอีกหลายสารเป็นส่วนประกอบ เมื่อกระโดดลงไปว่ายน้ำในทะเล ครีมกันแดดจะถูกชะล้างไปสู่น้ำทะเลไม่มากก็น้อย และไปตกอยู่กับปะการังซึ่งจะดูดซึมสารเหล่านี้เข้าไป

 

งานวิจัยจากกรมอุทยานของสหรัฐอเมริกา หรือ National Park Service และข้อมูลจาก National Geographic คาดการณ์ว่าทุกปีจะมีครีมกันแดดละลายลงไปอยู่ในน้ำทะเลกว่า 6,000-14,000 ตัน และกว่า 96 เปอร์เซ็นต์ของครีมกันแดดเหล่านั้นเป็นครีมกันแดดแบบเคมีที่มีสารกันแดดที่เป็นอันตรายต่อปะการัง สารเหล่านั้นจะเข้าไปทำลายลึกถึง DNA ของปะการัง ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการของพวกมันอย่างรุนแรง มนุษย์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ระบบนิเวศทั่วโลกเสียหายรวมถึงแนวปะการัง และในทางเดียวกันมนุษย์ก็มีความสามารถที่จะฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติกลับมาได้ เราต้องรู้เท่าทันผลกระทบของกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ยิ่งคนตระหนักรู้ได้มากขึ้นเท่าไหร่ เราจะร่วมกันลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นเท่านั้น

 

น่าเสียดายที่คำว่า “reef safe” “reef friendly” หรือ “ocean friendly” ยังไม่มีข้อกำหนดและมาตรฐานชัดเจนที่เหมือนกันทั่วโลก แต่ละแบรนด์จึงมีความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมิตรต่อปะการังต่างกัน ทำให้ครีมกันแดดที่ระบุว่า reef safe หรือเป็นมิตรต่อปะการังของแต่ละแบรนด์มีคุณสมบัติและส่วนผสมที่แตกต่างกันมาก บางแบรนด์เพียงเอาสารกันแดดแบบเคมี (chemical sunscreen) ออก เช่น oxybenzone octinoxate และ octocrylene ก็โฆษณาว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นมิตรต่อปะการังแล้ว แต่ในความจริงยังมีส่วนผสมอื่นที่สามารถทำร้ายปะการังและระบบนิเวศใต้ทะเลได้ไม่น้อยไปกว่ากัน

ทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมคือครีมกันแดดแบบฟิซิคัล (physical sunscreen or mineral based sunscreen) ซึ่งมีสารกันแดดหลักคือ zinc oxide และ titanium dioxide แต่ไม่ใช่ว่าครีมกันแดดฟิซิคัลทุกชนิดจะเป็นมิตรต่อปะการัง สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือขนาดโมเลกุลของสารทั้งสองรวมถึงสารอื่นๆ ในส่วนผสมด้วย โดย zinc oxide และ titanium dioxide ที่จะปลอดภัยต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้คือสารขนาดไมโคร (micro-sized) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 100 นาโนมิเตอร์ขึ้นไป เนื่องจากจะไม่ถูกดูดซึมเข้าไปในปะการังและกระแสเลือดของคน ในทางกลับกัน การใช้ zinc oxide และ titanium dioxide ขนาดนาโน (nano-sized) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 100 นาโนมิเตอร์ลงไป อาจทำให้เนื้อสัมผัสของครีมใส ไม่เป็นสีขาว ซึมลงผิวอย่างรวดเร็ว แต่สารขนาดนาโนนี้สามารถดูดซึมเข้าไปทำร้ายปะการังและสะสมในกระแสเลือดได้ไม่แพ้สารกันแดดแบบเคมี 

เมื่อมองหาครีมกันแดดที่เป็นมิตรต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพผู้ใช้ ยังมีส่วนผสมอื่นๆ ที่ควรเลี่ยงนอกเหนือจากที่กล่าวมาที่อาจไม่คุ้นชื่อ เช่น สารกันแดดเคมีที่มักนำมาใช้แทน oxybenzone อย่าง avobenzone ซึ่งทำงานในลักษณะเดียวกันและส่งผลเสียคล้ายกัน หรือ homosalate ซึ่งสามารถสะสมในกระแสเลือดในปริมาณมาก สารอื่นที่ใส่มาเผื่อปรับให้เนื้อผลิตภัณฑ์เป็นไปตามต้องการ อย่าง cyclomethicone ซิลิโคนชนิดหนึ่งที่สามารถสะสมในสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ และกระแสเลือดคนเอง มีสารอื่นอีกจำนวนมากที่เป็นอันตรายต่อทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่เราควรเลี่ยง 

KAANI เป็นครีมกันแดดแบบฟิซิคัล 100% สามารถปกป้องผิวจากทั้งรังสี UVA และ UVB   ไม่เติมแต่งสี ใช้ได้ทุกสภาพผิวและสีผิว ไม่ทิ้งคราบขาว
เนื้อครีมแน่นไม่ไหลเลอะออกจากหลอด แต่ก็ไม่เหนียวเหนอะหนะ
ทาได้สบายผิว ปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังและสิ่งแวดล้อมใต้ทะเลเท่าที่มีการศึกษาถึงทุกวันนี้ ไม่ใช่เพียงสารกันแดดแบบเคมี นอกจากนี้ยังปราศจากสารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวอย่างแอลกอฮอล์ ซิลิโคน พาราเบน มิเนรอลออย เอสเซนเชียลออย น้ำหอมทุกชนิด ไม่มีสารอันตรายต่อเด็กและคนท้อง

bottom of page